หน้าแรก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
ข่าว/กิจกรรม
ประกาศ
วีดีทัศน์
 
 

"แกะเกร็ด เคล็ดลับยา 10" ยาสำหรับเด็ก โดย "My Pharmacist" สภาเภสัชกรรม
วันนี้ตุ๊กมีเคล็ดไม่ลับสำหรับการเก็บรักษายาสำหรับเด็กมาฝากทุกคนกันค่ะ - ประเภทยาใช้ภายนอก เช่น ครีม ขี้ผึ้ง หลังเปิดใช้ไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 6 เดือนค่ะ - ประเภทยาหยอด เช่น ยาหยอดหู ยาหยอดตา หลังเปิดใช้จะมีอายุการใช้งานแค่ 30 วันเท่านั้นนะคะ - ประเภทยาน้ำทั่วไป หลังเปิดใช้ก็จะมีอายุการใช้งานแค่ 30 วัน เช่นกันค่ะ - ยาน้ำสำหรับเด็ก ที่เป็นยาปฏิชีวนะ มักจะเป็นผง ต้องใช้น้ำสะอาดต้มสุก แล้วทิ้งไว้ให้เย็นก่อนผสมยา และมีอายุการใช้งานสั้นและแต่ละตัวยาก็จะมีอายุที่แตกต่างกัน แต่โดยเฉลี่ยจะมีอายุการใช้งานอยู่ที่ 10-14 วันค่ะ - ประเภทยาเม็ดสำหรับเด็กเล็ก ยาประเภทนี้ที่ภาชนะบรรจุจะระบุวันหมดอายุไว้อย่างชัดเจนค่ะ แต่หลังจากเปิดใช้งานแล้วแนะนำให้ใช้ต่อได้ภายใน 1 ปีค่ะ หากเกินกว่านั้นแนะนำให้ทิ้งจะดีที่สุดค่ะ อย่าลืมนะคะ หากมีข้อสงสัยเรื่องยา ปรึกษาเภสัชกร หรือเดินเข้าร้านยา ถามหาเภสัชกรนะคะ เรื่องยา วางใจเภสัชกร My Pharmacist สภาเภสัชกรรม

"แกะเกร็ด เคล็ดลับยา 9" แพ้ยา โดย "My Pharmacist" สภาเภสัชกรรม
ทำไมเราถึง “แพ้ยา” แพ้ยา คือ ความผิดปกติของร่างกายที่มีต่อยาที่ใช้ค่ะ แต่จะเกิดขึ้นกับบางคนที่มีภูมิคุ้มกันของร่างกายไวต่อยามากกว่าปกติ คล้ายๆ กับคนที่แพ้กุ้ง ปู ถั่ว หรือเกสรดอกไม้นั่นเองค่ะ อาการแพ้ที่เกิดขึ้น ก็จะมีอาการผื่นแดงที่ผิวหนัง ปากบวม ตาบวม หลอดลมตีบจนหายใจไม่ออก แน่นหน้าอก บางรายอาจจะมีอาการรุนแรง ถึงขึ้นเป็นผื่นพุพอง ผิวหนังหลุดออก หรือความดันโลหิตต่ำมากจนช็อค หมดสติได้ค่ะ ผู้ที่แพ้ยาควรจำชื่อยาที่แพ้ให้ได้นะคะ และควรพกบัตรแพ้ยาติดตัวไว้เสมอ เพื่อป้องกันการแพ้ยาซ้ำค่ะ อย่าลืมนะคะ หากมีข้อสงสัยเรื่องยา ปรึกษาเภสัชกร หรือเดินเข้าร้านยา ถามหาเภสัชกรนะคะ เรื่องยา วางใจเภสัชกร My Pharmacist สภาเภสัชกรรม

"แกะเกร็ด เคล็ดลับยา 8" ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน โดย "My Pharmacist" สภาเภสัชกรรม
“ฉุกคิดสักนิด ก่อนคิดใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน” คุณผู้ชมคงเคยได้ยินชื่อยานี้ใช่ไหมคะ “ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน” เป็นยาที่ใช้ป้องกันการตั้งครรภ์เท่านั้นนะคะ ไม่สามารถใช้เป็นยาทำแท้งได้ เพราะจะต้องทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉินเข้าไปก่อนที่จะมีการฝังตัวของไข่ที่เยื่อบุโพรงมดลูก แต่ถ้าไข่ผสมกับอสุจิแล้วฝังตัวที่ผนังมดลูกไปแล้ว ยานี้ก็ไม่สามารถทำอะไรได้ค่ะ และที่สำคัญ ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน ไม่ควรใช้เพื่อการคุมกำเนิดระยะยาวนะคะ ดังนั้นจึงไม่ควรทานต่อเนื่องกันเป็นประจำ เพราะจะทำให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เลือดออกกะปริบกะปรอย และยังเสี่ยงเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกอีกด้วย ดังนั้นหากต้องการคุมกำเนิดอย่างจริงจัง ก็ควรจะใช้วิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะสม เช่น การใช้ถุงยางอนามัย หรือ ทานยาคุมกำเนิดแบบปกติที่เป็นชนิดเม็ด แทนจะดีกว่านะคะ อย่าลืมนะคะ หากมีข้อสงสัยเรื่องยา ปรึกษาเภสัชกร หรือเดินเข้าร้านยา ถามหาเภสัชกรนะคะ “เรื่องยา วางใจเภสัชกร” My Pharmacist สภาเภสัชกรรม

"แกะเกร็ด เคล็ดลับยา 7" กินยาซ้ำซ้อน โดย "My Pharmacist" สภาเภสัชกรรม
“รู้หรือไม่ บางครั้งคุณอาจกินยาซ้ำซ้อนได้” หลาย ๆ คนอาจจะเคยทานยาหลายๆ ตัวพร้อมกัน แล้วเราก็ไม่รู้ด้วยว่าตัวยาที่เราทานไปนั้น มีตัวยาที่ซ้ำซ้อนกันหรือเหมือนกันรึเปล่า ซึ่งการทานยาที่ซ้ำซ้อนกัน จะทำให้เราได้รับยาเกินขนาด หรือร่างกายได้รับยาสะสมไว้โดยไม่จำเป็น ยกตัวอย่างเช่น ถ้าตุ๊กเป็นหวัด ปวดศีรษะ ตุ๊กทานยาพาราเซตามอล แก้อาการปวดศีรษะ แล้วตุ๊กก็ทานยาสูตรผสมที่ใช้สำหรับแก้หวัดด้วย ซึ่งนั่นก็ทำให้ตุ๊กได้รับยาพาราเซตามอลมากเกินไป อาจมีพิษต่อตับได้ค่ะ หรือในยาคล้ายกล้ามเนื้อบางชนิด ก็จะมีตัวยาพาราเซตามอลผสมอยู่เช่นกัน ถ้าเราทานยาพาราเซตามอลพร้อมกับยาคลายกล้ามเนื้อชนิดนั้น ก็จะทำให้เราได้รับยาพาราเซตามอลมากเกินไปเช่นกันค่ะ ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยา เราจึงต้องรู้เท่าทัน ไม่กินยาซ้ำซ้อนกันนะคะ และอย่าลืมนะคะ หากมีข้อสงสัยเรื่องยา ปรึกษาเภสัชกร หรือเดินเข้าร้านยา ถามหาเภสัชกรนะคะ “เรื่องยา วางใจเภสัชกร” My Pharmacist สภาเภสัชกรรม

"แกะเกร็ด เคล็ดลับยา 6" ยาตีกัน โดย "My Pharmacist" สภาเภสัชกรรม
“ยาตีกัน” กินด้วยกัน ทะเลาะกันแน่ หลายคนคงจะเคยเป็นหลายๆ โรคพร้อมกันใช่ไหมคะ จึงทำให้ต้องทานยาหลายๆ ตัวพร้อมกัน ยาบางชนิดจะมีปฏิกิริยาหรือมีผลกับยาบางชนิด หรือมียาบางชนิดทำให้ปริมาณหรือฤทธิ์ของยาอีกชนิดหนึ่งในร่างกาย “เพิ่มขึ้นหรือลดลง” เรียกกันสั้น ๆ ว่า “ยาตีกัน” ค่ะ มีตัวอย่างมากมายจากเรื่อง “ยาตีกัน” นะคะ หากมีข้อสงสัยเรื่องยา ปรึกษาเภสัชกร หรือเดินเข้าร้านยา ถามหาเภสัชกรนะคะ “เรื่องยา วางใจเภสัชกร” My Pharmacist สภาเภสัชกรรม

"แกะเกร็ด เคล็ดลับยา 5" ยาก่อนหรือหลังอาหาร โดย "My Pharmacist" สภาเภสัชกรรม
เคยสงสัยไหมคะว่าทำไมยาบางชนิด ต้องทาน"ก่อนอาหาร" หรือ ยาบางชนิด ต้องทาน "หลังอาหาร" ยาบางชนิดดูดซึมได้ดี เมื่อท้องว่าง เช่น ยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มเพนนิซิลลิน จึงต้องทานยาก่อนอาหาร 30 นาทีค่ะ หรือยาบางชนิดถูกกรดในกระเพาะอาหารทำลาย จึงต้องทานยาก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง แล้วทำไมยาหลายชนิดถึงต้องทานหลังอาหารนะเหรอคะ ก็เพราะว่ายาหลายชนิดดูดซึมได้ดี ถึงแม้จะมีอาหารอยู่ โดยปกติจึงให้ทานยาหลังอาหาร 15 นาที เพื่อง่ายต่อการจดจำนั่นเองค่ะ หรือยาบางชนิดจะระคายเคืองกระเพาะอาหาร เช่น แอสไพริน สเตียรอยด์ ยาแก้ปวดบางชนิด จึงทำให้เกิดอาการปวดท้อง แสบท้อง คลื่นไส้ อาเจียน จึงต้องทานยาหลังอาหารทันทีและดื่มน้ำตามมากๆ ดังนั้นหลังจากรับยามาแล้ว ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอหรือเภสัชกรอย่างเคร่งครัดนะคะ “เรื่องยา วางใจเภสัชกร” My Pharmacist สภาเภสัชกรรม

"แกะเกร็ด เคล็ดลับยา 4" แบ่งยาให้กัน เหมือนแบ่งปันอันตราย โดย "My Pharmacist" สภาเภสัชกรรม
หลายคนคงเคยปวดท้อง แล้วเอายาจากเพื่อนที่เคยปวดท้องเหมือนกัน มาทาน หรือบางคนอาจจะเคยปวดหัวจี๊ดๆ แล้วใช้ยาของคนในบ้านที่เคยปวดหัวเหมือนกันมาทาน พฤติกรรมอย่างนี้ไม่ควรทำนะคะ เพราะอาการที่เหมือนกันอาจจะมาจากสาเหตุที่ต่างกันก็ได้ค่ะ และนอกจากโรคจะไม่หายแล้ว อาจจะยังเสี่ยงต่อการแพ้ยา หรือเกิดอาการข้างเคียงจากการใช้ยาได้อีกด้วยนะคะ เพราะการใช้ยาในแต่ละคนแตกต่างกัน การดูดซึมยา ระดับยาในเลือด การขับถ่ายยาในร่างกายแต่ละคนไม่เหมือนกัน และยาชนิดเดียวกัน อาจมีปริมาณยาที่หลากหลายขนาดค่ะ ดังนั้นจึงห้ามแบ่งยาให้กันโดยเด็ดขาดค่ะ

“แกะเกร็ด เคล็ดลับยา 3” ปรับเพิ่มลดยาตามใจ อันตรายให้ระวัง โดย “My Pharmacist” สภาเภสัชกรรม
หลายคนคงจะมีความเชื่อว่า ทานยามากไป จะไม่ดีต่อร่างกาย ไม่ดีต่อสุขภาพ บางคนพอเริ่มอาการดีขึ้นก็แอบหยุดยาเอง หรือบางคนก็มีความเชื่อว่า ทานยามากๆ แล้วจะหายเร็ว จึงเพิ่มยาที่จะทานให้มากขึ้น หรืออย่าง ยาปฏิชีวนะ หรือยาฆ่าเชื้อ ที่ต้องทานให้หมด เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ก็จะมีบางคนนะคะ ที่พออาการดีขึ้นก็หยุดทานยาเอง ไม่ยอมทานให้หมดตามที่แพทย์และเภสัชกรแนะนำ จึงทำให้เชื้อเกิดอาการดื้อยา ครั้งต่อไปก็ต้องใช้ยาที่แรงขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นผู้ป่วยต้องไม่ปรับหรือลดขนาดการใช้ยาด้วยตัวเองโดยเด็ดขาดนะคะ “เรื่องยา วางใจเภสัชกร” My Pharmacist สภาเภสัชกรรม

"แกะเกร็ด เคล็ดลับยา 2" เชื่อหรือไม่ แค่ท้องเสีย ไม่จำเป็นต้องกินยา โดย "My Pharmacist" สภาเภสัชกรรม
เพราะอาการท้องเสีย ประมาณ 99% เกิดจากเชื้อไวรัส หรือ อาหารเป็นพิษนั่นเองค่ะ ไม่ได้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย จึงไม่จำเป็นต้องทานยาปฏิชีวนะค่ะ แค่ดื่มน้ำเกลือแร่ก็พอเพื่อชดเชยเกลือแร่ที่สูญเสียไปจากการถ่ายเหลวค่ะ แต่ถ้ามีไข้ หรือ อุจจาระมีมูกปนเลือด ต้องรีบไปพบแพทย์หรือเภสัชกรโดยด่วนเลยนะคะ "เรื่องยา วางใจเภสัชกร" My Pharmacist สภาเภสัชกรรม

"แกะเกร็ด เคล็ดลับยา 1" เป็นหวัดเจ็บคอ จำเป็นไหมต้องกินยาปฏิชีวนะ? โดย "My Pharmacist" สภาเภสัชกรรม
โรคหวัดเจ็บคอ 80% เกิดจากร่างกายได้รับเชื้อไวรัสเข้าไปนั่นเองค่ะ จึงไม่จำเป็นต้องทานยาปฏิชีวนะ แต่ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานฆ่าเชื้อไวรัสเองค่ะ แค่รักษาตามอาการก็พอค่ะ เช่น ถ้าคุณมีไข้ ปวดหัว ก็ทานพาราเซตามอล เพื่อลดไข้และแก้ปวดหัว ถ้าน้ำมูกไหล ก็ทานยาลดน้ำมูก หรือถ้ามีอาการไอ ก็ต้องทานยาแก้ไอค่ะ แต่ถ้าติดเชื้อแบคทีเรีย คือ มีอาการเจ็บคอ อ้าปากแล้วเห็นมีหนองที่ต่อมทอนซิล ต่อมน้ำเหลืองใต้ขากรรไกรโต พอกดดูก็รู้สึกเจ็บ ต้องรีบทานยาปฏิชีวนะ หรือยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียค่ะ "เรื่องยา วางใจเภสัชกร" My Pharmacist สภาเภสัชกรรม

แพ้ยาควรรู้ ไม่ให้เกิดแพ้ซ้ำ
การแพ้ยาเป็นปฏิกิริยาที่เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ต่อต้านยาเมื่อร่างกายได้รับยาเข้าไป โดยร่างกายคิดว่ายานั้นเป็นสิ่งแปลกปลอมก็จะพยายามขจัดยาออกหรือยาเป็นสิ่งแปลกปลอมที่ไปกระตุ้นภูมิ คุ้มกันของร่างกายจึงเกิดอาการแพ้ขึ้นมา
โรงพยาบาลบางละมุง หมู่ 5
E-mail : banglamunghospital@blm.go.th โทร 038-411551-2, 0 โทรสาร 038-428464 (ธุร
เข้าชมแล้วทั้งหมด 0 ครั้ง
ผู้ชมออนไลน์ 0 คน
ADMIN :